ข่าวการศึกษา

แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง “วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” 25 เมษายน ของทุกปี ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail

แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง “วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” 25 เมษายน ของทุกปี ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านออนไลน์ เรื่อง “วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” 25 เมษายน ของทุกปี

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านออนไลน์ ของ ห้องสมุดประชาชนอำเภอวังสะพุง กศน.อำเภอวังสะพุง สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย เรื่อง “วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” 25 เมษายน ของทุกปี เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และให้ประชาชน ได้ร่วมกิจกรรมผ่านสื่อออนไลน์ เข้าถึงการอ่านและการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ ต้องทำได้ 14/20 คะแนน ถึงจะผ่านเกณฑ์ 65 % และจะได้รับเกียรติบัตร ส่งทาง Gmail ที่ท่านได้ให้ไว้..หากท่านไมได้รับอีเมลตอบกลับกรุณากดเข้ากลุ่ม Line: https://line.me/R/ti/g/tKLR1g_TN0 หรือ เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/librarywangsaphung

จัดทำโดย ห้องสมุดประชาชนอำเภอวังสะพุง กศน.อำเภอวังสะพุง สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย

ทำแบบทดสอบ >>คลิก<<

แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง "วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" 25 เมษายน ของทุกปี ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail
แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง “วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” 25 เมษายน ของทุกปี ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail
เรื่อง “วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” 25 เมษายน ของทุกปี

ข้อมูลเพิ่มเติม

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชากับพระวิสุทธิกษัตรี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลก พระนามเดิม พระองค์ดำ หรือพระนเรศวร มีพระเชษฐภคินี คือ พระสุพรรณเทวี และพระอนุชา คือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)

หลังจากเสียกรุงแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา เขมรเห็นเป็นโอกาสที่ไทยอ่อนแอ จึงได้ยกทัพมาปล้นสดมภ์และกวาดต้อนผู้คนบริเวณชายพระนคร สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงได้ขอตัวสมเด็จพระนเรศวรจากหงสาวดี กลับมาช่วยป้องกันบ้านเมือง เมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปประทับที่หงสาวดี หลังสงครามช้างเผือกตามคำทูลขอของพระเจ้าบุเรงนอง ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๙ พรรษา

สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระนเรศวรเป็นพระมหาอุปราช ปกครองหัวเมืองทางเหนือ และประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๑๔ ตลอดรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นกำลังสำคัญในการป้องกัน และกอบกู้บ้านเมืองจากข้าศึกทั้งเขมรและพม่า ในปี พ.ศ.๒๑๒๗ พระองค์ได้ทรงประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยาจากอำนาจของพม่า หลังจากที่ตกอยู่ในอำนาจพม่าเป็นเวลา ๑๕ ปี

เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระราชอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง

ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่า และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบ

การสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๕ การสงครามในขั้นต่อไปหลังจากนั้นของพระองค์คือ การรุกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก เริ่มจากการตีเมืองทวาย และตะนาวศรี คืนกลับมาจากพม่าหลังจากสงครามยุทธหัตถี การยกไปตึเมืองเขมรในเวลาต่อมา ยึดเมืองละแวกของเขมรได้ ในปี พ.ศ.๒๑๔๒ พระองค์ยกกองทัพไปปราบปรามมอญแล้วยกขึ้นไปตีเมืองหงสาวดี แต่พระเจ้าตองอูได้นำเสด็จพระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอูก่อน คงทิ้งให้เมืองหงสาวดีร้างก่อนที่พระองค์จะนำทัพไปถึงไม่นาน

รายละเอียดของงานด้านการทหารของพระองค์มีอยู่ในเรื่องราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้ปรับปรุงการปกครองหัวเมืองใหม่เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ยกเลิกระบบเมืองพระยามหานคร จัดแบ่งหัวเมืองเป็นหัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ยกเลิกการให้เจ้านายไปปกครองเมืองเหล่านี้ แล้วให้ขุนนางไปปกครองแทน

สมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคต ขณะที่พระองค์ทรงยกกองทัพไปตีเมืองอังวะ เมื่อเสด็จถึงเมืองหาง พระองค์ทรงประชวรเป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์กลายเป็นพิษ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ พระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕

ข้อมูลเพิ่มเติม
https://thethaiger.com/th/news/561799/
http://www.thailaws.com/king/king_ayudhya_19.htm

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button