สารพันความรู้ข่าวเกษตรเทคนิคเกษตร

โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”

โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”

บ้านโคกล่าม – แสงอร่าม จ.อุดรธานี สร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”

นายสุรจิตร นามน้อย หัวหน้าพื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ จ.อุดรธานี เปิดเผย โครงการปลูกผักในโรงเรือนแก้ปัญหาภัยแล้ง เกษตรกรอ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ว่าหลังจาก ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ลงพื้นที่อีสานและได้พูดคุยทำประชาคมกับชาวบ้านเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ได้บทสรุป 4 ข้อ คือ

1. ต้องเร่งแก้ปัญหาภัยแล้ง

2. ใช้การตลาดนำการผลิต

3. ทำจากง่ายไปหายาก

4. ทำน้อยได้มาก

โดยใช้โรงเรือนในการปลูกผักและใช้ระบบน้ำหยดที่ได้จากน้ำในห้วยและบ่อบาดาล มีเกษตรกรเข้าร่วม 19 ราย ในพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ มี 4 แปลง สามารถปลูกโรงเรือนได้ 20 โรง ให้เกษตรกร 19 รายเป็นผู้ดูแล ส่วนอีกแปลงทางปิดทองหลังพระฯ ทำเป็นแปลงทดสอบ

ทั้งนี้ใน 1 ไร่ ปลูกโรงเรือนได้ 5 โรง โดยเกษตรกรที่เป็นเจ้าของพื้นที่จะได้โรงเรือนฟรี 1 โรง แต่ต้องยินยอมให้เกษตรกรรายอื่นเข้ามาปลูกพืชในโรงเรือนที่เหลือด้วย ซึ่งโรงเรือน 1 โรง ใช้เงินลงทุนประมาณ 1 แสนกว่าบาท ทางปิดทองหลังพระฯ สำรองจ่ายเงินไปให้ก่อน จากนั้นเกษตรกรจะต้องผ่อนใช้

นายสุรจิต กล่าวว่า ในช่วงแรกเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา เกษตรกรขอปลูกพืชที่ถนัดก่อน 2 ชนิด คือ ต้นหอมกับผักชีจีน ซึ่งจะได้ผลผลิตในวันที่ 16 มีนาคม ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้จะต้องทำตามเงื่อนไข 3 ข้อ คือ 1. ปลูกผักมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ 2. ต้องมีความต่อเนื่อง และ 3.ต้องมีปริมาณเพียงพอ

“หลังจากได้ผลผลิตแล้วจะส่งขายให้กับทางห้างแม็คโคร โดยตั้งเป้าว่าจะส่งให้สัปดาห์ละ 200 กิโลกรัม (ก.ก.) แยกเป็นต้นหอม 100 ก.ก. ผักชีจีน 100 ก.ก. ซึ่งการดำเนินการแบบนี้ต่อไปจะเป็นโมเดลให้กับเกษตรกรทั่วไป เพราะในแต่ละปีเกษตรกรปลูกผักได้ 8 รอบ ใช้เวลารอบละ 45 วัน ขายได้รอบละ 7,000 บาท แต่ในช่วงแรกจะได้กำไรไม่มากแค่ 1,000 บาท เพราะเป็นการลงทุนที่ใช้เงินก้อนใหญ่ แต่รอบต่อไปจะได้กำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการประเมินพบว่า ถ้าปลูกผักในโรงเรือนแบบนี้จะได้ผลตอบแทนมากกว่าการทำนาปกติถึง 25 เท่า อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ต้องเลือกปลูกผักที่ขายได้ราคามากกว่านี้

สำหรับโมเดลบูรณาการความร่วมมือ โครงการปลูกผักในโรงเรือนแก้ปัญหาภัยแล้ง ดังกล่าว นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เผยกระบวนการดำเนินโครงการฯ นี้จนเกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจว่า

• สถาบันฯ ได้คัดเลือกเกษตรกรต้นแบบ 19 ราย ที่อยู่ในพื้นที่บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ปลูกผักอยู่แล้ว มีพื้นที่ทำการเกษตรที่มีต้นทุนน้ำเพียงพอ และพร้อมแบ่งพื้นที่ให้เกษตรกรรายอื่นที่เข้าร่วมด้วย

• สถาบันฯ ลงทุนสร้างโรงเรือนปลูกผักต้นแบบ แก้ปัญหาภัยแล้งให้

• ตั้งกองทุนเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ กำหนดให้สมาชิกกองทุนฯ ต้องคืนเงินสมทบเข้ากองทุนหลังจากมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตแล้ว

• แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ที่มาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เป็นที่ปรึกษาในแต่ละด้านให้กับเกษตรกร ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง

โดยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ นวัตกรรม และตลาด ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางนี้ มาจากความร่วมมือของภาคีทุกภาคส่วน ในลักษณะการบูรณาการความร่วมมือ ดังนี้

• ต้นทาง: สร้างครัวเรือนพึ่งตนเอง

ให้ความรู้และนำสู่การปฏิบัติจริง บริหารจัดการการใช้น้ำในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการปรับเอาหลัก การเกษตรแบบแม่นยำ “จากง่ายไปยาก ทำน้อยได้มาก” คือ เริ่มด้วยการปลูกผักที่ชาวบ้านคุ้นเคยและปลูกง่าย อย่าง ผักชี ต้นหอม

โดยในการปลูก ทางสถาบันฯ ได้ชักนำหน่วยงานต่าง ๆ มาร่วมมือกันให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษาแก่เกษตรกรในทุกขั้นตอน

1. การเพาะกล้า: สำนักงานเกษตรอำเภอ และเครือเจริญโภคภัณฑ์

2. การทำวัสดุปลูก: สถานีพัฒนาที่ดิน และเครือเจริญโภคภัณฑ์

3. ระบบน้ำต้นทุน ในรูปแบบของน้ำหยดและละอองน้ำ เพื่อประหยัดน้ำ: สำนักงานชลประทานที่ 6 จังหวัดขอนแก่น

4. โรงเรือนปลูกผัก ติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิ: จ้างช่างมืออาชีพ มาเป็นที่ปรึกษา

5. การจัดการแปลงเกษตรชุมชน: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

กลางทาง: รวมกลุ่มเพื่อรับผิดชอบและบริหารจัดการแบบพึ่งตนเอง

พัฒนาผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่น การสร้างมาตรฐาน เกษตรปลอดภัย หรือ GAP และรวมกลุ่มดูแลความเป็นอยู่ของสมาชิก

ปลายทาง: เชื่อมโยงสู่ตลาด “โมเดิร์นเทรด” ภายนอกส่งผักให้ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด สัปดาห์ละ 100 กิโลกรัมเมื่อหลัก “เกษตรทฤษฎีใหม่” เจอกับ “เกษตรแม่นยำ” ผลคือรายได้พอมีพอกินและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นถ้วนหน้า

ด้วยการเดินตามโมเดลที่กล่าวมาข้างต้นนี้เอง ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกผักที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถหารายได้จากการปลูกผักได้อย่างยั่งยืน แบบไม่หวั่นแม้ภัยแล้งจะยาวนาน โดย จุลัยพร แทนจำรัส เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้พูดถึงผลดีที่ได้รับจากโครงการฯ นี้ว่า

“ก่อนกลับบ้านเกิดมาทำเกษตร มาปลูกผัก เคยไปใช้ชีวิตเป็นลูกจ้างในโรงงานที่ประเทศเกาหลีใต้ ประมาณ 3 ปี จากนั้นตัดสินใจกลับบ้านที่อุดรฯ มาเป็นเกษตรกร เพราะที่บ้านมีที่ดิน 14 ไร่ พอมีโครงการฯนี้ก็เลยเข้าร่วม และลองแบ่งที่ดินจำนวน 1 ไร่ มาสร้างโรงเรือน แล้วจึงเริ่มปลูกผักลงแปลงในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา”

“การปลูกผักในโรงเรือนด้วยการใช้เทคนิคเกษตรแม่นยำนี้ ตอบโจทย์ทั้งภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นและช่วยให้การทำเกษตรง่ายขึ้น แบบทำน้อยแต่ได้รายได้มาก เพียงแค่วางแผนและเปลี่ยนมาปลูกผักแบบประณีตและใส่ใจมากขึ้นเท่านั้น”

โดยการปลูกผักในโรงเรือนแบบใช้น้ำน้อย ที่ทางสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ นำมาเผยแพร่นี้ มีข้อดีหลากหลายด้านทีเดียว

ด้วยเทคนิคการทำเกษตรแบบแม่นยำ ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกสามารถวางแผน กำหนดระยะเวลาการปลูกได้ถูกต้องในช่วงแรกเริ่ม สามารถเลือกผักที่ปลูกง่ายและมีความคุ้นเคยเพื่อทดลองปลูกก่อน อย่าง ต้นหอม ผักชี ซึ่งในช่วงหน้าแล้งจะเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ขายได้ราคาดีโดยโรงเรือนปลูกผัก มีขนาด 6 × 24 เมตร มีโต๊ะปลูกผักจำนวน 16 โต๊ะ เฉลี่ยแล้วปลูกได้ 5,000 ต้น ใน 1 ปี ปลูกได้ถึง 8 ครั้ง

• รดผักด้วยระบบ “น้ำหยด” และละอองน้ำ ช่วยให้ประหยัดน้ำได้มากโดยเกษตรกรสามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและบ่อบาดาลที่มีอยู่ สูบน้ำขึ้นมาด้วยเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ไปไว้ในถังพักน้ำ และกระจายน้ำสู่โต๊ะเพาะปลูก ระบบนี้จะใช้น้ำน้อยกว่าการรดด้วยสปริงเกอร์ถึง 18 เท่า และถ้าเทียบกับการปลูกข้าวแล้ว ใช้น้ำน้อยกว่าถึง 112 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่

• ปลูกพืชบนโต๊ะ ดีต่อสุขภาพเกษตรกร ไม่ต้องก้มด้วยการปลูกผักบนแปลงที่ยกขึ้นสูงจากพื้น ในระดับโต๊ะมาตรฐานทั่วไป จึงดีต่อสุขภาพของเกษตรกร ไม่ทำให้ปวดหลัง และด้วยวิธีนี้ยังทำให้ดูแลผักที่ปลูกได้ประณีตมากขึ้นด้วย

• แมลงน้อย ประหยัดปุ๋ยมากขึ้นแม้ว่าในช่วงแรกเริ่มจะต้องลงทุนโรงเรือนปลูกผักที่มีราคาสูง ประมาณ 140,000 บาท ทว่า ด้วยการปลูกแบบนี้ จะช่วยให้เกษตรกรประหยัดในเรื่องการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง เพราะโรงเรือนที่ปลูกผักแบบโต๊ะนี้จะสามารถควบคุมดินปลูก ป้องกันแมลงได้ด้วย เพราะแปลงที่ยกสูงขึ้นมาจากพื้นดินนั่นเอง

ที่สุดแล้ว ทางโครงการได้เก็บข้อมูลรายได้ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดของคุณจุลัยพร เกษตรกรตัวจริง ที่ยืนยันว่า ด้วยวิธีปลูกผักแบบนี้ “ทำน้อยได้มาก” จริง ๆ

เพราะการปลูกต้นหอม ผักชี ในแบบเกษตรแม่นยำนี้ สร้างกำไรให้เกษตรกรสูงถึง 194,644 บาท ต่อไร่ต่อปี มากกว่าการปลูกข้าวและพืชหลังนา 25 เท่า และมากกว่า มันสำปะหลังถึง 71 เท่า

ด้วยผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจนี้เอง นายการัณย์ ยืนยันว่า จะต่อยอดความสำเร็จนี้ไปวิจัยและพัฒนาต่อ และทำเป็นแนวทางปลูกผักในโรงเรือนระบบน้ำหยดแบบแม่นยำ พร้อมนำไปขยายผลแก้ปัญหา วิกฤตภัยแล้ง ปี 2563 ในพื้นที่ จังหวัดกาฬสินธุ์และขอนแก่นต่อไป

โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โครงการสร้างต้นแบบปลูกผักโรงเรือนใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”
โรงเรือนปลูกผักใช้น้ำน้อยทำ “เกษตรแม่นยำ”

ขอบคุณที่มา : มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

เว็บไซต์ เกษตรทันข่าว.com  จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องราวการเกษตร ข่าวสารการเกษตร เพื่อเกษตรกรยุคใหม่ อัพเดตข่าวสาร สารพันความรู้ เทคนิคเกษตร กิจกรรม และสินค้าเกษตร พร้อมเป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรกรไทย

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button