ข่าวเกษตรสารพันความรู้เทคนิคเกษตร

คำแนะนำการใช้ “สารสกัดจากพืช” ใช้อย่างไร

คำแนะนำการใช้ “สารสกัดจากพืช” ใช้อย่างไร

คำแนะนำการใช้สารสกัดจากพืช

1.ควรระมัดระวังในการเตรียมตัวอย่างพืชไม่ให้เข้าตา เพราะอาจเกิดความระคายเคืองได้

2.ควรฉีดพ่นสารสกัดก่อนแมลงระบาดเพื่อเป็นการป้องกัน

3.ควรฉีดพ่นในเวลาที่ไม่มีแสงแดดจัดเนื่องจากสารสำคัญในสารสกัดจากพืชสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนและแสงแดด

1.กากเมล็ดชาน้ำมัน

ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด กากเมล็ดชาน้ำมัน มีสารกลุ่มซาโปนิน (triterpenoid Saponin มีฤทธ์ต่อระบบปราสาทระบบเลือด และมีผลต่อการลอกคราบแมลง สามารถกำจัดหอยเชอรี่หอยศัตรูกล้วยไม้

วิธีการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อกำจัดหอยเชอรี่(หว่านกากเมล็ดชาในนาข้าว 2.5 กิโลกรัมต่อไร่ต้องมีระดับน้ำในนาข้าว 5เซนติเมตรและรักษาระดับน้ำให้คงที่อย่างน้อย 3วัน) และการนำมากำจัดหอยศัตรูกล้วยไม้ พบว่าใช้อัตรา 5.0 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพกำจัดหอยอำพันและหอยเจดีย์ใหญ่

2. ว่านน้ำ

ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด สาระสำคัญในว่านน้ำคือ สารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ เบต้า-อาซาโรน (B-asarone) นอกจากนี้ยังพบสารอาโคแรงเจอร์มาโครน (acorangermancrone) และอาซาริลอัลดีฮาย (asarylaldhyde) ในน้ำมันหอมระเหยจากรากว่านน้ำเป็นสารฆ่าแมลง โดยเป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง ยับยั้งการเจริญเติบ โต และการกินอาหารของแมลง ยับยั้งการพัฒนาของระบบสืบพันธุ์ และการออกจากไข่ของตัวอ่อน นอกจากนี้ยังยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรีย ใช้กับแมลงวันแตง แมลงวันผลไม้ ด้วงหมัดผักหนอนกระทู้ผัก และแมลงศัตรูในโรงเก็บ

วิธีการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชทำได 2 วิธี ดังนี้

1. คลุกกับเมล็ดพืชในโรงเก็บ โดยใช้ผงว่านน้ำ 1 กิโลกรัม คลุกเมล็ดพืช 50 กิโลกรัม

2. เหง้าบดเป็นผง 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ไว้ค้างคืนหรือต้ม 45 นาที กรองแล้วนำไปฉีดพ่น

3.หางไหล

ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด

– เป็นสารฆ่าแมลง โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบหายใจของแมลง สารสกัดจากรากสามารถป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดเช่น

– แมลงศัตรูผัก เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยจักจั่นฝ้าย เพลี้ยอ่อนกะหล่ำปลี เพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาว หนอนเจาะฝักถั่วฝักยาวหนอนผีเสื้อสีน้ำเงิน

– แมลงศัตรูข้าว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนห่อใบข้าว

– แมลงศัตรูข้าวโพด เช่น หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

– แมลงศัตรูกล้วยไม้ เช่น เพลี้ยไฟฝ้าย

– แมลงศัตรูในโรงเก็บ เช่น ด้วงถั่วเขียว

วิธีการใช้ป้องกันกำจัด ศัตรูพืชนำรากหางไหลมาทุบให้แตก สับเป็นชิ้นเล็กๆ แช่ในน้ำอัตราส่วน ราก 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ไว้ 48 ชั่วโมง ใช้ไม้กวนเป็นครั้งคราวกรองด้วยผ้าขาวบางนำน้ำที่กรองได้ไปพ่นในแปลพืชทุก 5-7 วัน นำมาบดเป็นผงใช้คลุกเมล็ด

4. สะเดา

ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด สะเดา มีสาร อาซาไดแรคติน ซาแลนนิน เมเลีย ไตรออล และนิมบิน สารเหล่านี้มีประสิทธิภาพดังนี้

– ยับยั้งการลอกคราบของแมลง โดยไปขัดขวางและยับยั้งการสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในการลอกคราบ

– ยับยั้งการกินอาหารชนิดถาวร จนทำให้แมลงตายในที่สุด

– ยับยั้งการเจริญเติบโตของไข่ หนอน และดักแด้

– เป็นสารไล่แมลง

– ยับยั้งการวางไข่ของแมลง ทำให้ปริมาณไข่ลดลงใช้ป้องกันกำจัเพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนม้วนใบถั่ว

วิธีการใช้ป้องกันกำจัด ศัตรูพืชเมล็ดสะเดาบดละเอียดอัตรา 1กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาส่วนน้ำไปพ่นในแปลงปลูกพืช (ใช้ได้ผลในแปลงปลูกที่ศัตรูพืชระบาดไม่รุนแรง และหนอนมีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงไม่มาก ควรพ่นก่อนมีการระบาด หรือมีการระบาดเพียงเล็กน้อย และพ่นติดต่อกันไปทุก 7 วัน ในแหล่งที่ระบาดอย่างรุนแรง)เมล็ดสะเดาบดละเอียดอัตรา 20 กิโลกรัม ต่อไร่ (หว่านรอบต้นในอัตรา 2.5 กรัมต่อหลุม สามารถที่จะกำจัดตัวอ่อนของด้วงหมัดผักที่อาศัยอยู่ในดินได้ดี ส่วนตัวเต็มวัย ที่ทำลายส่วนใบ สารสกัดสะเดาไม่สามารถป้องกันกำจัดได้

5. หนอนตายหยาก

ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด หนอนตายหยาก ใช้ป้องกันกำจัดหนอนแมลงวัน ป้องกันกำจัด แมลงศัตรูพืช ยับยั้งการกินจองหนอนกระทู้หอม หนอนใยผัก หนอนแมลงวัน มีความเป็นพิษต่อลูกน้ำยุง

วิธีการใช้ป้องกันกำจัด ศัตรูพืชนำรากหนอนตายหยาก สับเป็นชิ้นเล็กๆ ปริมาณ 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร กวน หมักไว้ค้างคืน กรองเอาน้ำไปฉีดพ่นพืชผักทันที ฉีดพ่น ทุก 3-5 วัน ใช้น้ำให้หมดทุกครั้ง ไม่ควรเก็บไว้เพราะราจะขึ้น

6.เมล็ดน้อยหน่า

ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด ในเมล็ดน้อยหน่ามีสารอัลคาลอยค์ มีความเป็นพิษทางการสัมผัสและระบบทางเดินอาหาร เป็นพิษต่อ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นฝ้าย หนอนใยผัก

วิธีการใช้ นำเมล็ด1กิโลกรัม มาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 20ลิตรและแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1-2วัน จากนั้นกรองเอาน้ำไปแดพ่นในแปลงเกษตร

***ระวังเวลาบดอย่าให้ผงเมล็ดน้อยหน่าให้เข้าตาเพราะจะทำให้ตาเกิดการระคายเคืองอย่างมาก

“สารสกัดจากพืช” ใช้อย่างไร

ขอบคุณที่มา : facebook เพจ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button