ข่าวสาร

เช็กได้ที่นี่ !! 12 ธนาคาร ช่วยเหลือลูกค้าในสถานการณ์โควิด

เช็กได้ที่นี่ !! 12 ธนาคาร ช่วยเหลือลูกค้าในสถานการณ์โควิด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ 12 ธนาคารทั้งพาณิชย์และธนาคารรัฐ ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าทั้งเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี และสินเชื่อต่างๆ

ธนาคารออมสิน

ลูกค้าในพื้นที่สีแดง 28 จังหวัดเสี่ยง “โควิด-19”

1. เป็นลูกค้าในพื้นที่สีแดง 28 จังหวัดที่เสี่ยง “โควิด-19” สูง กรณีประกอบอาชีพใน 28 จังหวัด แต่บัญชีเงินกู้อยู่นอกพื้นที่ ลงทะเบียนไม่ได้ ให้ติดต่อสาขาเจ้าของบัญชีเงินกู้

2. เอกสารที่ต้องเตรียม สำเนาบัตรประชาชน, หลักฐานแสดงรายได้ปกติ/รายได้หลังได้รับผลกระทบ, รูปถ่ายหรือหลักฐานที่ระบุว่าได้รับผลกระทบ

3. ลงทะเบียนในเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือ คลิกที่นี่ จากนั้นกรอกข้อมูล และรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับภายใน 14 วัน⏱

ระยะเวลา 3-12 เดือน

ดูรายละเอียด https://www.gsb.or.th/news/gsbpr2/

ธนาคารกรุงไทย

สินเชื่อบุคคล (ประเภทวงเงินหมุนเวียน)

  • เปลี่ยนเป็นวงเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา (Term Loan) 48 งวด หรือ ขยายระยะเวลาได้ตามความสามารถในการชำระหนี้

สินเชื่อบุคคล (แบบกำหนดระยะเวลา)

  • ลดการผ่อนชำระลง 30% จากการผ่อนชำระตามสัญญากู้เดิม นานสูงสุด 6 เดือน

สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่มี ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน)

  • พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะดอกเบี้ย) นาน 3 เดือน หรือ ลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้

ดูรายละเอียด https://bit.ly/39UmCfx

ธนาคารกรุงศรี

มาตรการที่ 1: ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำอัตโนมัติ สำหรับลูกค้าทุกราย (โดยไม่ต้องลงทะเบียนหรือโทรแจ้งความจำนงกับบริษัท)

  • บัตรเครดิต: จากเดิม 10% เหลือ 5% ถึง 31 ธันวาคม 64
  • สินเชื่อส่วนบุคคลแบบชำระขั้นต่ำ: จากเดิม 5% เหลือ 3% ตามรอบบัญชี 31 ธันวาคม 64

มาตรการที่ 2: ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษและขยายเวลาผ่อนชำระ สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ (โดยต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านโมบายแอป UCHOOSE เท่านั้น)

  • บัตรเครดิต: ลดดอกเบี้ยพิเศษ 12% และขยายเวลาผ่อนสูงสุด 99 เดือน (ขึ้นอยู่กับยอดคงค้าง)
  • สินเชื่อบุคคล: ลดดอกเบี้ยพิเศษ 22% ลดการผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือ 3% หรือขยายเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน (ขึ้นอยู่กับยอดคงค้าง)

มาตรการที่ 3: ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนด้วยการขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน (ปรับโครงสร้างหนี้)

  • บัตรเครดิต: ลดดอกเบี้ยพิเศษ และขยายเวลาผ่อนสูงสุด 99 เดือน (ขึ้นอยู่กับยอดคงค้าง)
  • สินเชื่อบุคคล: ลดดอกเบี้ยพิเศษ และขยายเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน (ขึ้นอยู่กับยอดคงค้าง)

ลงทะเบียนผ่าน https://bit.ly/2XPSOL6

ดูรายละเอียด https://bit.ly/2XPSOL6

ธนาคารยูโอบี

พักชำระดอกเบี้ยและเงินต้น 3 รอบบัญชี

พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย 12 รอบบัญชีสามารถติดต่อยื่นคำร้องได้ทางช่องทางของธนาคาร

ดูรายละเอียด https://bit.ly/2UzTa7O

ธนาคารกสิกร

ประเภทที่ 1 มาตรการช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน

  • บัตรเครดิตกสิกรไทย จาก 18% เป็น 16%
  • บัตรเงินด่วน จาก 28% เป็น 25%
  • สินเชื่อเงินด่วน จาก 28% เป็น 25%* (*มีผลเฉพาะสินเชื่อที่อนุมัติตั้งแต่ 1 ส.ค. 2563 เป็นต้นไป)
  • สินเชื่อรถช่วยได้ประเภทจำนำทะเบียนรถ จาก 28% เป็น 24%*

(*มีผลเฉพาะสินเชื่อที่อนุมัติตั้งแต่ 1 ส.ค. 2563 เป็นต้นไป)

ประเภทที่ 2 มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน

  • บัตรเครดิตกสิกรไทย

ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 รอบบัญชีนับจากเดือนที่ลงทะเบียน *หากท่านเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้นจ่ายแต่ดอกเบี้ยอยู่แล้ว แนะนำให้ท่านลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง

ทางเลือกที่ 2 เปลี่ยนยอดคงค้างเป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี** **ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตรของท่าน กรณีเลือกทางเลือกนี้

  • บัตรเงินด่วน

ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้นจ่ายแต่ดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 รอบบัญชี นับจากเดือนที่ลงทะเบียน*หากท่านเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้นจ่ายแต่ดอกเบี้ยอยู่แล้ว แนะนำให้ท่านลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง

ทางเลือกที่ 2 เปลี่ยนยอดคงค้าง เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี** **ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตรของท่าน กรณีเลือกทางเลือกนี้

  • สินเชื่อเงินด่วน

ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้นจ่ายแต่ดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 รอบบัญชี นับจากเดือนที่ลงทะเบียน*หากท่านเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้นจ่ายแต่ดอกเบี้ยอยู่แล้ว แนะนำให้ท่านลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง

ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิมเป็นเวลา 6 รอบบัญชี ดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี

  • สินเชื่อบ้านกสิกรไทย

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยและลดอัตรา ดอกเบี้ยลง 0.1% เป็นเวลา 3 เดือน

ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 50% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 3 เดือน

ทางเลือกที่ 3 พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน

  • สินเชื่อเงินด่วน แบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน

ทางเลือกที่ 2 ลดยอดผ่อนชำระ 30% เป็นเวลา 3 เดือน

ทางเลือกที่ 3 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน

  • สินเชื่อรถยนต์ธนชาต สินเชื่อรถ

สินเชื่อรถช่วยได้ ประเภทจำนำทะเบียนรถ ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม ตลอดอายุสัญญา อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี

  • สินเชื่อรถ สินเชื่อรถช่วยได้ ประเภทโอนเล่มทะเบียนรถ /สินเชื่อรถ (รถใหม่) /สินเชื่อรถ (รถใช้แล้ว)

ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน โดยขยายเวลาผ่อนชำระอีก 3 เดือน

ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 50% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 6 เดือน โดยขยายเวลาผ่อนชำระอีก 3 เดือน

ดูรายละเอียด https://bit.ly/3oSe5zR

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

มาตรการที่ 9 ลูกค้าที่เคยเข้าร่วมหรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ

  • ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564)
  • ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรกผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 15 – 29 มกราคม 2564

มาตรการที่ 10 สำหรับลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้

  • ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564)
  • ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรก ผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม – 26 กุมภาพันธ์ 2564

มาตรการที่ 11 สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ

  • ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน(กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564)
  • ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรก ผ่าน Application : GHB ALL ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 26 กุมภาพันธ์ 2564

มาตรการที่ 12 สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต แบ่งเป็น

1.ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ(ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนหรือไม่เกินมิถุนายน 2564

หรือ 2.พักชำระหนี้ถึงมิถุนายน 2564 ลงทะเบียนที่สาขาทั่วประเทศ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564

ดูรายละเอียด https://bit.ly/3oNgyLT

ธนาคารยูโอบี UOB

ปรับให้อัตโนมัติ

บัตรเครดิต ปรับลดผ่อนชำระขั้นต่ำเดิม 10%

  • ปี 63 เหลือ 5%
  • ปี 65 เหลือ 8%
  • ปี 66 เหลือ 10%

บัตรกดเงินสด ปรับลดผ่อนชำระขั้นต่ำเดิม 5%

  • ปี 63-65 เหลือ 2.5%
  • ปี 66 เหลือ 5%

ลงทะเบียน

ปรับโครงสร้างหนี้โดยรวมหนี้สินเขื่อบ้าน บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท

ดูรายละเอียด https://bit.ly/38OFqNN

อิออน ธนสินทรัพย์

มาตรการที่ 1 ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ- ลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำ (เดิม 10%) เป็นดังนี้

5% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 ถึง 2 ธันวาคม 2564

8% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 มกราคม 2565 ถึง 2 ธันวาคม 2565

10% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

บัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช)

– ลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำ (เดิม 3%) เป็นดังนี้

1% แต่ไม่น้อยกว่า 300 บาท* ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 ถึง 2 มิถุนายน 2564

มาตรการที่ 2 พักหรือลดค่างวด (สินเชื่อทุกประเภท)

– พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนแต่สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป

– และ/หรือ ลดค่างวดสินเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ 30% – 50% เป็น- ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป

มาตรการที่ 3เปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อระยะยาว อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12%

– สามารถขอเปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อระยะยาว โดยได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี อัตราชำระคืนขั้นต่ำ 3% ต่อเดือน

ดูรายละเอียด https://bit.ly/2LW5MV1

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)

  • พักชำระหนี้เงินต้น ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน
  • พักชำระดอกเบี้ย เป็นระยะเวลาสูงสุด 3 เดือน สำหรับผู้ประกอบการอาหารแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็ง และผักผลไม้

ดูรายละเอียด https://bit.ly/3bJHpVu

ธนาคารทิสโก้

สินเชื่อเงินกู้ ประเภทจำนำทะเบียนรถ

– ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม โดยขยายเวลาการผ่อนชำระ และอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี

สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

– ปรับลดค่างวด โดยขยายเวลาการผ่อนชำระ

สินเชื่อที่อยู่อาศัย

– เลื่อนการจ่ายเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยตามความเหมาะสม หรือลดค่างวดโดยขยายเวลาชำระหนี้ลงทะเบียนเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือภายในวันที่ 31 มกราคม 2564

ดูรายละเอียด https://bit.ly/3nSJQrg

ธนาคารกรุงเทพ

บัตรเครดิต

ปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 5% (จากเดิม 10%) จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายได้

– รับสิทธิ์อัตโนมัติโดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์

– ปรับลดเพดานดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 16% ต่อปี (จากเดิม 18% ต่อปี) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563

– ขยายวงเงินให้แก่ลูกค้าที่มีความจำเป็นและมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง

– สำหรับลูกค้าที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท จาก 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 – 31 ธ.ค. 64

สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ

ประเภทสินเชื่อเงินกู้ที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Installment Loan)

– ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี

ประเภทสินเชื่อเงินกู้ที่มีลักษณะหมุนเวียน (Revolving Loan)

– ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ ตามความสามารถในการชำระหนี้

– เปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา (term loan) 48 งวด หรือขยายระยะเวลาตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี

สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน

– เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน

– หรือเลื่อนชำระเงินต้น (จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน

– ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการรวมหนี้ (Debt Consolidation)

– เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโรคโควิด 19 สงครามการค้า หรือภัยธรรมชาติ

สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี

สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เงินกู้เสริมสภาพคล่อง

มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย

ดูรายละเอียด https://www.bangkokbank.com/th-TH/COVID19-Update

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

โครงการชำระดีมีคืนสำหรับหนี้เงินกู้จัดชั้นปกติ สำหรับลูกค้าที่มีเงินกู้ปกติ ไม่มียอดค้างชำระ หากมาชำระหนี้ที่ ธ.ก.ส. จะได้รับเงินคืน ดังนี้

– ลูกค้าเกษตรกรและบุคคล รับเงินคืน 20% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง แต่ไม่เกิน 5,000 บาทต่อราย

– กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ยกเว้นสหกรณ์นอกภาคการเกษตรและองค์กร) รับเงินคืน 10% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย

– สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 63 – 31 มี.ค. 64 ในกรอบวงเงิน 3,000 ล้านบาท แล้วเเต่เงื่อนไขใดจะสิ้นสุดก่อน

โครงการลดภาระหนี้ สำหรับหนี้ NPL หรือมีดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 15 เดือน

– ลูกค้าเกษตรกรและบุคคล รับเงินคืน 20% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง

– กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ยกเว้นสหกรณ์นอกภาคการเกษตรและองค์กร) รับเงินคืน 10% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง

– สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 63 – 31 มี.ค. 64

ดูรายละเอียด https://bit.ly/3bOfvb0

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

มาตรการพักชำระหนี้เงินต้น

– ลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ขอพักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ไม่เกิน 31 ธันวาคม 2564

มาตรการเติมเงินใหม่ “สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash”

– กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาทต่อราย

– อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปีใน 2 ปีแรก

– ระยะผ่อนชำระนานสูงสุด 5 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน

– ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน

ดูรายละเอียด https://bit.ly/3bVgwhc

เช็กได้ที่นี่ !! 12 ธนาคาร ช่วยเหลือลูกค้าในสถานการณ์โควิด
เช็กได้ที่นี่ !! 12 ธนาคาร ช่วยเหลือลูกค้าในสถานการณ์โควิด

ขอบคุณที่มา : TravelNews

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button