ข่าวสาร

ธ.ก.ส. เร่งช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ จัดสินเชื่อฉุกเฉิน ช่วยเหลือด้านภาระหนี้สิน ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ และสินเชื่อฟื้นฟูหลังประสบภัย

ธ.ก.ส. เร่งช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ จัดสินเชื่อฉุกเฉิน ช่วยเหลือด้านภาระหนี้สิน ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ และสินเชื่อฟื้นฟูหลังประสบภัย

ธ.ก.ส. เร่งช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ จัดสินเชื่อฉุกเฉิน ช่วยเหลือด้านภาระหนี้สิน ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ และสินเชื่อฟื้นฟูหลังประสบภัย
ธ.ก.ส. เร่งช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้

ธ.ก.ส. จัดสินเชื่อฉุกเฉิน ช่วยเหลือด้านภาระหนี้สิน ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ และสินเชื่อฟื้นฟูหลังประสบภัย รองรับกรณีเกษตรกรต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการประกอบอาชีพ การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและเครื่องมือทางการเกษตร วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท

ธ.ก.ส. กำหนดแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพร้อมมอบหมายให้ ธ.ก.ส. ในพื้นที่เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้

  • กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน ได้มอบหมายให้พนักงาน ธ.ก.ส. ในพื้นที่ ออกเยี่ยมเยียนให้กำลังใจลูกค้า พร้อมจัดหาถุงยังชีพเพื่อนำไปมอบให้เกษตรกรลูกค้าและประชาชนที่เดือดร้อน โดยเบื้องต้นได้ส่งถุงยังชีพช่วยเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา จำนวนกว่า 8,518 ชุด และเข้าไปสนับสนุนศูนย์อพยพหรือจุดรวมพลต่าง ๆ เช่น จัดหาอาหาร น้ำดื่ม บริการสุขาเคลื่อนที่ เต็นท์สนาม รวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ เช่น ค่าเช่าเรือ ค่าเช่ารถบรรทุก ค่าแรงงาน เป็นต้น และหลังจากสถานการณ์คลี่คลายลง จะเร่งสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณา
  • ให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูหลังประสบภัย เช่น การมอบเงินเพื่อสมทบทุนสร้างบ้านหลังใหม่ การซ่อมแซมทรัพย์สินของใช้จำเป็น การซ่อมแซมเครื่องจักรการเกษตร และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวเนื่องในการให้ความช่วยเหลือกรณีฟื้นฟูหลังประสบภัย สำหรับการให้ความช่วยเหลือด้านภาระหนี้สินที่มีอยู่กับ ธ.ก.ส. กรณีที่เกษตรกรได้รับความเสียหายด้านการผลิตและส่งผลกระทบต่อรายได้ ธ.ก.ส. จะพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตามความหนักเบาของผู้ประสบภัยทุกราย และพิจารณา
  • ให้สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน บรรเทาความเดือดร้อนและป้องกันการก่อหนี้นอกระบบ ไม่เกินรายละ 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ระยะ 6 เดือนแรก
  • สินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตามความจำเป็นแต่ไม่เกินรายละ 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-2 (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี) กำหนดชำระคืนไม่เกิน 15 ปี ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นค่าลงทุนในการสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหาย หรือลงทุนซ่อมแซมโรงเรือนการเกษตร เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตรหรือฟื้นฟูการประกอบอาชีพการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย

ขอบคุณที่มา : facebook เพจ ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี – PMOC

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button