สารพันความรู้เทคนิคเกษตร

ฮีนหรือเสวียนหรือกะเสียน (ภาษาอีสาน), อึ๋ง (ไทใหญ่) เป็นที่เก็บข้าวเปลือก จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

ฮีนหรือเสวียนหรือกะเสียน (ภาษาอีสาน), อึ๋ง (ไทใหญ่) เป็นที่เก็บข้าวเปลือก จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

ฮีน (Heen) คืออะไร

ฮีนหรือเสวียนหรือกะเสียน (ภาษาอีสาน), อึ๋ง (ไทใหญ่)

ฮีนเป็นที่เก็บข้าวเปลือก จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดต่อๆ กันมาจากบรรพบุรุษ ฮีนทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นวงกลมทรงกระบอกขนาดใหญ่ ยาด้วยดินโพน (ดินจอมปลวก) ที่ผสมขี้วัวหรือขี้ควาย ซึ่งคุณสมบัติของการยาดินผสมนั้นทำให้สามารถควบคุมความชื้น และเป็นฉนวนความร้อนลดผลกระทบจากภายนอกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืน ด้านข้างของฮีนทำเป็นประตูสามารถปิดเปิดเพื่อความสะดวกในการเทหรือตักข้าวได้ ด้านบนของฮีนทำเป็นหลังคาคลุมไว้ บ้างก็ใช้ตั้งไว้ใต้ถุงบ้านจึงไม่ต้องทำหลังคา ส่วนพื้นฮีนจะใช้ไม้พื้นเรือนรองพื้น ยกระดับขึ้นเพื่อไม่ให้ข้าวโดนพื้นดินโดยตรงเนื่องจากดินมีความชื้นสูง การทำฮีนในครัวเรือนของเกษตรกรนั้นสามารถบรรจุข้าวได้มากถึง 300 ถัง ซึ่งมีความเหมาะสมในการเก็บข้าวไว้บริโภคตลอดฤดูกาลต่อครัวเรือน
ซึ่งในปัจจุบันนั้นเราน่าจะควรนำภูมิปัญญาการเก็บข้าวในสมัยก่อนมาประยุกต์ใช้ ด้วยการใช้คุณสมบัติของการยาดินผสมกับมูลวัวมูลควาย ทำให้เกิดช่องว่างช่วยในการรักษาระบายอากาศ รักษาความชื้นและความเย็นที่เหมาะสม เมื่อบรรจุข้าวเป็นจำนวนมากข้าวสามารถหายใจได้ ข้าวไม่ตาย และการยาด้วยดินผสมนั้นทำให้มีความคงทนต่อมอดเจาะไม้อีกด้วย
ฮีนหรือเสวียนหรือกะเสียน (ภาษาอีสาน), อึ๋ง (ไทใหญ่) เป็นที่เก็บข้าวเปลือก จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ฮีนหรือเสวียนหรือกะเสียน (ภาษาอีสาน), อึ๋ง (ไทใหญ่) เป็นที่เก็บข้าวเปลือก จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

ขอบคุณที่มา : ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button