ข่าวสาร

กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำมูล-ชี เพื่อให้น้ำที่ท่วมขัง จังหวัดนครราชสีมา ระบายได้มากที่สุด

กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำมูล-ชี เพื่อให้น้ำที่ท่วมขัง จังหวัดนครราชสีมา ระบายได้มากที่สุด

กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำมูล-ชี ไม่ให้น้ำปริมาตรมากมาบรรจบกัน เร่งระบายน้ำมูลลงน้ำโขง จ.อุบลราชธานี เพื่อให้น้ำที่ท่วมขัง จ.นครราชสีมา ระบายได้มากที่สุด และไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ

นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำเขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา ว่าปัจจุบันเขื่อนลำตะคองมีปริมาณน้ำในอ่างประมาณ 347 ล้าน ลบ.ม. ยังรับน้ำได้อีกประมาณ 25 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำไหลลงอ่างฯ ประมาณ 1.99 ล้าน ลบ.ม. วันนี้ (30 ต.ค.)  เปิดการระบายน้ำออกจากเขื่อนประมาณ 2.37 ล้าน ลบ.ม./วัน สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำลำตะคองสายหลัก ตั้งแต่อาคารแบ่งน้ำละลมหม้อไปจนถึงประตูระบายน้ำข่อยงามมีแนวโน้มลดลง

กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำมูล-ชี  เพื่อให้น้ำที่ท่วมขัง จังหวัดนครราชสีมา ระบายได้มากที่สุด
กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำมูล-ชี เพื่อให้น้ำที่ท่วมขัง ระบายได้มากที่สุด

ส่วนลำบริบูรณ์ น้ำบางส่วนผันลงลำเชียงไกรผ่านบึงพุดซามีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณชุมชนบ้านลำเชียงไกรแนวโน้มน้ำเริ่มลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำมูลไปแล้วก่อนหน้านี้ การระบายน้ำจากเขื่อนลำตะคอง จึงไม่ส่งผลต่อพื้นที่ด้านท้ายอ่าง

สำหรับพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วมขังเดิม สั่งการให้เจ้าหน้าที่ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในลำบริบูรณ์ บริเวณประตูระบายน้ำจอหอ 6 เครื่อง และลำตะคองบริเวณประตูระบายน้ำข่อยงามอีก 3 เครื่อง รวมทั้งนำรถแบ็กโฮ 5 คัน เข้าไปขุดลอกคลองบริเวณประตูระบายน้ำโพธิ์เตี้ย อ.เมือง นครราชสีมา รวมทั้งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำบริเวณใต้ทางรถไฟท้ายประตูระบายน้ำจอหอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในลำบริบูรณ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้สำนักเครื่องจักรกลยังได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 50 เครื่อง ในแม่น้ำมูลตอนล่าง จ.อุบลราชธานี เพื่อให้ไหลลงสู่แม่น้ำโขงเร็วขึ้น ทำให้การระบายน้ำที่ท่วมขัง จ.นครราชสีมา ทำได้ดียิ่งขึ้น 

กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำมูล-ชี  เพื่อให้น้ำที่ท่วมขัง จังหวัดนครราชสีมา ระบายได้มากที่สุด
กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำมูล-ชี เพื่อให้น้ำที่ท่วมขัง ระบายได้มากที่สุด

นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนายการสำนักงานชลประทานที่ 6 ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง กล่าวว่า จัดการจราจรน้ำชี-มูล โดยหน่วงน้ำในแม่น้ำชีไม่ให้ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูล เพื่อให้น้ำที่ท่วมขังหลายอำเภอ จ.นครราชสีมา ไหลลงแม่น้ำมูลระบายสู่แม่น้ำโขงสะดวก ช่วยลดผลกระทบน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำ 2 ฝั่งมูลได้อย่างรวดเร็ว

ขณะนี้เก็บกักน้ำในลำน้ำสาขาชี โดยใช้อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 69 แห่งเก็บน้ำให้มากที่สุด ลดการระบายน้ำลงท้ายน้ำ ระบายเข้าระบบส่งน้ำ เพื่อเข้าไปเก็บกักในระบบส่งน้ำและตามหนอง บึง ปลายคลองส่งน้ำ สำหรับเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนลำปาว ลดการระบายน้ำลงด้านท้ายน้ำ มีเพียงเขื่อนจุฬาภรณ์ที่มีปริมาณน้ำประมาณ 93% ระบายน้ำลงลำน้ำเชิญวันละ 1 ล้าน ลบ.ม. เพื่อมาเก็บกักที่เขื่อนอุบลรัตน์ ตัดยอดน้ำหลากในแม่น้ำชีและลำสาขาที่สำคัญ เช่น ลำปะทาว ลำคันฉู ลำน้ำพอง ลำปาว ลำน้ำยังเข้าไปเก็บในแก้มลิงทุกแห่งจนเต็มความจุ เพื่อหน่วงน้ำไม่ให้ไหลลงชีตอนล่างไปสมทบกับแม่น้ำมูล

ส่วนลำน้ำเสียวใหญ่ ลำพลับพลา ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของมูลยกฝายยางทั้ง 26 แห่ง ประตูระบายน้ำ 1 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง กักเก็บและหน่วงน้ำจนเต็มความจุ 100% ทุกแห่ง เพื่อไม่ให้มวลน้ำไหลลงแม่น้ำมูลที่หน้าเขื่อนราศีไศล จ.ศรีสะเกษ ใช้เขื่อนระบายน้ำ 6 แห่ง ได้แก่ เขื่อนชนบท เขื่อนมหาสารคาม เขื่อนวังยาง เขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร และเขื่อนธาตุน้อยหน่วง เก็บกักไว้ในลำน้ำชี ให้ได้มากที่สุด รวมสามารถเก็บกักน้ำไว้หน้าเขื่อน 6 แห่งเต็มศักยภาพสูงสุด ได้ประมาณ 170 ล้าน ลบ.ม. โดยไม่ให้มีผลกระทบด้านเหนือเขื่อน ในแม่น้ำชีตอนบน จ.ชัยภูมิ หน่วงชะลอน้ำโดยฝายยาง 3 แห่งได้แก่ ฝายบุตามี ฝายกะฮาดน้อย และฝายแก้งสนามนาง และหากอัตราการไหลของน้ำชีเป็นไปตามเกณฑ์การบริหารจัดการฝายยาง ซึ่งจะพองฝายยางขึ้น เพื่อหน่วงและเก็บกักน้ำไว้ด้านบนให้มากที่สุด มั่นใจว่าจะทำให้การระบายน้ำจาก จ.นครราชสีมา ลงสู่ลำน้ำมูลเพื่อออกแม่น้ำโขงที่ จ.อุบลราชธานี จะทำได้รวดเร็วขึ้น

ขอบคุณที่มา : สำนักข่าวไทย

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button