สารพันความรู้

เตือนเกษตรกร ปลูกมะนาวระวังหนอนชอนใบ

เตือนเกษตรกร ปลูกมะนาวระวังหนอนชอนใบ

อากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ เตือนเกษตรที่ปลูกมะนาวระวังหนอนชอนใบเข้าทำลายมะนาว โดยผีเสื้อตัวเต็มวัยวางไข่ใต้เนื้อเยื่อใบ ใกล้เส้นกลางใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินและชอนไชอยู่ในระหว่างผิวใบ หนอนจะทำลายด้านใต้ใบมากกว่าบนใบ รอยทำลายสังเกตได้ง่ายตั้งแต่เริ่มทำลายโดยเห็นเป็นเส้นทางสีขาวเรียวยาวในระยะเริ่มแรกและขยายใหญ่ขึ้นเป็นทางคดเคี้ยวไปมา ใบมีลักษณะบิดงอลงทางด้านที่มีหนอนทำลาย นอกจากท าลายใบแล้ว ถ้ามีการระบาดมากหนอนจะเข้าทำลายกิ่งอ่อน และผลอ่อนด้วย รอยแผลที่เกิดจากการทำลายจะเป็นช่องทางให้เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas citrisubsp citri ซึ่งทำให้เกิดโรคแคงเกอร์รุนแรงขึ้น

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

๑. การบังคับยอดให้แตกพร้อมกัน สามารถควบคุมประชากรของหนอนชอนใบส้มได้ดีขึ้น สะดวกในการดูแลรักษา ช่วยลดจำนวนครั้งในการใช้สารเคมีในการแตกยอดแต่ละรุ่น และเป็นการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติอีกด้วย

๒. ใบอ่อนมะนาวที่พบหนอนชอนใบส้มลงทำลายมากควรเก็บทำลายทิ้ง เพื่อลดปริมาณหนอนชอนใบส้ม ในการแตกยอดของมะนาวรุ่นต่อไป

๓. สำรวจหนอนชอนใบส้มช่วงแตกใบอ่อน หากยอดอ่อนถูกทำลายเกินกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของยอดที่สุ่มสำรวจทั้งหมด ให้พ่นสารฆ่าแมลง เช่น ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์๘๓.๙% อีซี อัตรา ๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือโคลไทอะนิดิน ๑๖% เอสจี อัตรา ๕ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ไทอะมีทอกแซม ๒๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๕ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด ๗๐% ดับเบิ้ลยูจีอัตรา๒ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นให้ทั่วทั้งหลังใบและหน้าใบ และถ้าส ารวจพบว่ายังมีการระบาดของหนอนชอนใบส้มให้พ่นซ้ำ

*การใช้ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ ในการป้องกันกำจัดหนอนชอนใบส้มให้มีประสิทธิภาพดีนั้น ต้องทำการพ่นสารโดยใช้อัตราน้ำมากกว่าการพ่นสารฆ่าแมลงทั่วไป เพื่อให้สารน้ำมันเคลือบใบพืช

ขอบคุณที่มา : facebook เพจ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร

เว็บไซต์ เกษตรทันข่าว.com  จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องราวการเกษตร ข่าวสารการเกษตร เพื่อเกษตรกรยุคใหม่ อัพเดตข่าวสาร สารพันความรู้ เทคนิคเกษตร กิจกรรม และสินค้าเกษตร พร้อมเป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรกรไทย

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button