เทคนิคเกษตรสารพันความรู้เลี้ยงสัตว์

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

การเลี้ยงปลา ในบ่อพลาสติก  ได้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกษตรกรนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้  ประหยัดต้นทุน  และที่สำคัญที่สุดไม่เสียพื้นที่ในการขุดบ่อปลา   ใช้พื้นที่น้อยผสมผสานกับการเกษตรอย่างอื่นก็ได้  โดยรอบคันบ่อควรปลูกผักสวนครัวซึ่งการเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก  และนอกจากเป็นการลดรายจ่ายซึ่งเป็นการใช้บริโภคในครัวเรือน แล้วยังเป็นการเพิ่มรายได้ด้วยการนำส่วนที่เหลือจากการบริโภคไปจำหน่ายซึ่งตลาดมีความต้องการสูงเนื่องจากเป็นธรรมชาติและปลอดสารพิษ

การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก

ขั้นตอนการเลี้ยงมี 4 ขั้นตอน

1. การจัดเตรียมบ่อ

ขุดบ่อขนาดกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร ก้น 1 เมตร จัดทำขอบบ่อให้มีระดับเดียวกัน ปูผ้าพลาสติกสีดำกันน้ำซึม

2. การปรับสภาพน้ำในบ่อปลา

เปิดน้ำใส่บ่อจนเต็มจากนั้นใส่จุลินทรีย์ EM จำนวน 1 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม และ

แร่แม๊กนีเซียม จำนวน 3 กิโลกรัม ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำและลดการเน่าเสียของน้ำ จากนั้นก็ปล่อยปลาลงเลี้ยงได้

3. ปลาดุกที่เลี้ยงใช้ พันธุ์บิ๊กอุย ขนาดยาว 5 – 7 ซม. จำนวน 1,000 – 2,0000 ตัว เลี้ยงประมาณ

2 – 3 เดือน ก็สามารถจับบริโภคได้

4. การทำอาหารปลาดุก

ส่วนผสม

1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย

2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย

3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม

4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม

5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร

6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม

7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร

วิธีทำ

1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน

2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง

3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร

คลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน

เกร็ดความรู้

1. การซื้อพันธุ์ปลาก่อนการเคลื่อนย้ายให้ปลาอดอาหาร 1 – 2 วัน เพื่อป้องกันปลาดิ้นและ

ทำให้ปลาไส้ขาดเวลาเลี้ยงปลาจะไม่โต

2. การเคลื่อนย้ายปลาให้เตรียม น้ำมันพืช 30 ซีซี : เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันตักใส่ใน

ถุงหรือที่มีพันธุ์ปลา อยู่ประมาณ 1 ช้อนชา เพื่อป้องกันปลาบาดเจ็บ

3. การป้องกันปลาหนีจากบ่อเวลาฝนตก ใช่วิธีหากมีฝนตกให้หว่านอาหารให้ปลากิน สัก

2 – 3 ครั้ง เพื่อหลอกว่าเวลาฝนตกจะได้กินอาหารแล้วปลาจะไม่หนี

4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ดูดน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน และนำน้ำที่ใส่ใหม่ให้ทำเป็นละอองฝอยโดยใช้สายยางเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ปลา

5. การจับปลาเพื่อบริโภคโดยใช้วิธีใช้สายยางฉีดน้ำเหมือนกับฝนตกปลาจะเล่นน้ำจากนั้นใช้สวิงตักปลา ที่เล่นน้ำทันที ปลาจะไม่รู้สึกถึงอันตรายและจะกินอาหารต่อและไม่หนี้

ข้อดีของการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่
ก่อสร้างบ่อเลี้ยงได้ง่าย
ระยะเวลาเลี้ยงสั้น
เลี้ยงง่าย อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
บริโภคเองในครัวเรือน และมีเหลือจำหน่าย

การเลือกสถานที่สร้างบ่อ 


อยู่ใกล้บ้าน
อยู่ที่ร่มหรือมีหลังคา
มีแหล่งน้ำสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวก

การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก

การสร้างบ่อ


วิธีที่ 1
ขุดลงไปในดิน

การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก

วิธีที่ 2
ยกคันบ่อขึ้น

การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก

การสร้างบ่อ 

การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก

การเตรียมน้ำ


น้ำบาดาล น้ำบ่อ น้ำในแหล่งน้ำลำคลองสามารถใช้เลี้ยงปลาได้
น้ำประปาต้องทิ้งน้ำไว้ 3 วัน ก่อนถึงจะนำมาเลี้ยงปลาได้

การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก

การเลี้ยง (1) 
1. ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยง
ปลาที่เริ่มเลี้ยงยาวตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไป
ไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาวเพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ
2. อัตราการเลี้ยง 
ปล่อยลูกปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตารางเมตร
3. การปล่อยปลา 
แช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อยๆ ปล่อยลงบ่อ

ช่วงแรกที่ปล่อย ให้เติมน้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 ซม.แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ อาทิตย์ จนมีระดับสูงสุด 30-50 ซม.

การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก

4.การดูแลรักษา
หลังคาบัง แดด ฝน

การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก

5. การให้อาหารปลา 
เริ่มแรกให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก
อาหารสดพวกเศษเนื้อ สับให้ปลากินได้
ตัวปลวก แมลงเม่าและแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน
ให้อาหารเป็นเวลา วันละ 2 มื้อ เช้า – เย็น

6. การถ่ายเทน้ำ 
ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสีย
ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด เหลือน้ำเก่าไว้ 2/3
เปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
น้ำที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดพืชผักได้

การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก

7.การใช้ประโยชน์พื้นที่รอบบ่อ 
ปลูกพืชผักสวนครัวรอบๆ บ่อพลาสติก

การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก

ต้นทุน 
ค่าพลาสติกปูพื้นบ่อ (PVC # 3.5x 6 ม.) 500 บาท
ค่าอาหารเม็ด (เลี้ยงนาน 3 เดือน #30 กก. ) 500 บาท
ค่าพันธุ์ปลาดุก (ขนาด 1 นิ้ว 500 ตัว) 500 บาท
รวมทั้งสิ้น ประมาณ 1,500 บาทการจับปลา 
เลี้ยง 3-4 เดือน ได้ปลาขนาด 100-200 กรัม/ตัว
อัตรารอดประมาณ 80-90 %
ได้ผลผลิตปลา ประมาณ 30-50 กก/บ่อ
คิดเป็นมูลค่า (กก. ละ 30 บาท) 900-1,500 บาท

การทำอาหารปลาดุก 
ส่วนผสม
1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร

วิธีทำ
1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 – 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน

เกร็ดความรู้ 
1. การซื้อพันธุ์ปลาก่อนการเคลื่อนย้ายให้ปลาอดอาหาร 1 – 2 วัน เพื่อป้องกันปลาดิ้นและทำให้ปลาไส้ขาดเวลาเลี้ยงปลาจะไม่โต
2. การเคลื่อนย้ายปลาให้เตรียม น้ำมันพืช 30 ซีซี : เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันตักใส่ในถุงหรือที่มีพันธุ์ปลา อยู่ประมาณ 1 ช้อนชา เพื่อป้องกันปลาบาดเจ็บ
3. การป้องกันปลาหนีจากบ่อเวลาฝนตก ใช่วิธีหากมีฝนตกให้หว่านอาหารให้ปลากิน สัก 2 – 3 ครั้ง เพื่อหลอกว่าเวลาฝนตกจะได้กินอาหารแล้วปลาจะไม่หนี
4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ดูดน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน และนำน้ำที่ใส่ใหม่ให้ทำเป็นละอองฝอยโดยใช้สายยางเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ปลา
5. การจับปลาเพื่อบริโภคโดยใช้วิธีใช้สายยางฉีดน้ำเหมือนกับฝนตกปลาจะเล่นน้ำจากนั้นใช้สวิงตักปลา ที่เล่นน้ำทันที ปลาจะไม่รู้สึกถึงอันตรายและจะกินอาหารต่อและไม่หนี้

ข้อดีของการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก 
-ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่
-ก่อสร้างบ่อเลี้ยงได้ง่าย
-ระยะเวลาเลี้ยงสั้น
-เลี้ยงง่าย อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
-บริโภคเองในครัวเรือน และมีเหลือจำหน่าย

การเลือกสถานที่สร้างบ่อ 
-อยู่ใกล้บ้าน
-อยู่ที่ร่มหรือมีหลังคา
-มีแหล่งน้ำสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวก

การเตรียมน้ำ 
-น้ำบาดาล น้ำบ่อ น้ำในแหล่งน้ำลำคลองสามารถใช้เลี้ยงปลาได้
-น้ำประปาต้องทิ้งน้ำไว้ 3 วัน ก่อนถึงจะนำมาเลี้ยงปลาได้

การจับปลา 
เลี้ยง 3-4 เดือน ได้ปลาขนาด 100-200 กรัม/ตัว
อัตรารอดประมาณ 80-90 %
ได้ผลผลิตปลา ประมาณ 30-50 กก/บ่อ
คิดเป็นมูลค่า (กก. ละ 30 บาท) 900-1,500 บาท

การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุก

ขอบคุณที่มา : สภาเกษตรกรแห่งชาติ

เว็บไซต์ เกษตรทันข่าว.com  จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องราวการเกษตร ข่าวสารการเกษตร เพื่อเกษตรกรยุคใหม่ อัพเดตข่าวสาร สารพันความรู้ เทคนิคเกษตร กิจกรรม และสินค้าเกษตร พร้อมเป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรกรไทย

Related Articles

One Comment

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button